
Trackday แทร็คเดย์
เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางว่าการฝึกทักษะการขี่รถในสนามแข่งเป็นวิธีที่สามารถพัฒนาทักษะและสร้างความคุ้นเคย กลายเป็นความมั่นใจในการ การควบคุมรถ มันจะทำให้คุณขี่รถ
บนถนนได้ปลอดภัยขึ้น สนุกขึ้น และเร็วขึ้น
แทรคเดย์คืองานซ้อมขี่รถที่เราเพิ่มเติมมาตราการความปลอดภัยขึ้นจากปกติ เช่นการมีมาร์แชลสนามตามจุด หน่วยปฐมพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพและรถพยาบาล และนอกจากจะมี
บรรยากาศสนุกแล้วก็ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมมาจำหน่ายในงาน เช่นอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าบิ๊กไบค์ในราคาพิเศษ
กําหนดการจัดงาน ที่สนามพีระเซอร์กิต พัทยา ชลบุรี
- สนามที่1 : วันที่ 23-25 พฤษภาคม 2568
- สนามที่2 : วันที่ 8-10 สิงหาคม 2568
- สนามที่3 : วันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2568
การสมัครเข้าร่วมงาน
- ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทุกรุ่น คลิก : ลงทะเบียน – SuperBikeMag | Trackday
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม FB : Superbike Magazine (Thailand’s Edition) Fan Page
ติดต่อฝ่ายลงทะเบียน : 094-450-3338
กติกาแทร็คเดย์
คำแนะนำในการตรวจสภาพความพร้อมของรถคุณ
ระบบเครื่องยนต์และตัวรถ (Engine and Chassis System)
- ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของรุ่นที่เข้าแข่งขัน
- ไม่สามารถมีการดัดแปลงที่ผิดกฎเกณฑ์ที่กำหนด
- เราแนะนำให้ใช้น้ำเปล่าแทนน้ำยาหล่อเย็นเพราะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ อาจเกิดการรั่วไหลลงบนสนามได้ และน้ำยาหล่อเย็นทำให้พื้นสนามลื่นเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่และยากต่อการทำความสะอาด
- การร้อยลวดสเตนเลส (Safety Wiring) ในการแข่งขัน ชิ้นส่วนดังนี้
- น๊อตยึดคาร์ลิเปอร์เบรคหน้าซ้าย-ขวา
- น๊อตอ่างน้ำมันเครื่อง
- น๊อตเติมน้ำมันเครื่อง
ระบบเบรก (Braking System)
- เบรกหน้าและเบรกหลังต้องทำงานได้ดี
- ผ้าเบรกต้องมีความหนาที่เหมาะสม ไม่สึกหรอเกินไป
- น้ำมันเบรกต้องอยู่ในระดับที่เพียงพอ
ระบบกันสะเทือน (Suspension)
- โช้คอัพหน้าและหลังต้องทำงานได้ปกติ ไม่มีน้ำมันรั่วซึม
- ระบบกันสะเทือนต้องอยู่ในสภาพที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี
ระบบโซ่-สเตอร์ก่อนแข่งขัน
- โซ่ต้องไม่หย่อนหรือแน่นเกินไป
- ปกติระยะหย่อนที่เหมาะสมอยู่ที่ 20-30 มม. ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ
- ตั้งโซ่ให้มีความตึงพอดีเมื่อมีนักแข่งนั่งอยู่บนรถ
- “ที่ครอบโซ่” (Chain Guard) กำหนดให้รถแข่งต้องมีที่ครอบโซ่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ต้องเป็นวัสดุที่แข็งแรง ไม่แตกร้าวง่าย
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel System)
- ถังน้ำมันต้องไม่มีรอยรั่วซึม
- สายส่งน้ำมันต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์
อุปกรณ์ป้องกันตัวนักแข่ง (Safety Equipment)
- ชุดแข่งต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เช่น หนังแท้หรือวัสดุที่ทนต่อแรงเสียดทาน
- หมวกกันน็อกต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัย
- ถุงมือและรองเท้าต้องเป็นแบบที่ได้รับการรับรอง
ล้อและยาง (Wheels & Tires)
- ยางต้องมีดอกยางที่เหมาะสมตามประเภทของการแข่งขัน
- ห้ามใช้ยางที่มีสภาพสึกหรอหรือเสียหาย
- ล้อและซี่ล้อต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
- ต้องใช้ยาง Pirelli ในการลงซ้อมและแข่งขันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ยางยี่ห้ออื่นๆ ได้ ยกเว้นในกรณีที่ Pirelli ไม่มียางไซส์นั้นๆ จำหน่าย
อื่นๆ
- ติดหมายเลขรถที่หน้ารถ ห้ามติดบริเวณอื่นๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และต้องใช้สติ๊กเกอร์และเบอร์จากผู้จัดการแข่งขันเท่านั้น
- ตัวรถไม่สามารถติดสติ๊กเกอร์แบรนด์ยางยี่ห้ออื่นลงไปขับขี่ได้ ยกเว้นแบรนด์ Pirelli เท่านั้น
- ตัวรถต้องไม่มีการดัดแปลงแฟริ่งที่อาจจะทำให้เกิดการเฉี่ยวชน หรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่นได้
- ห้ามติดกล้องที่มีลักษณะเป็นไม้เซลฟี่ เกินออกมาเกินตัวรถเด็ดขาด
- ต้องติดเทปดำ บริเวณไฟหน้าและไฟท้าย เพื่อป้องกันการแตกกระจายของกระจกไฟหน้าและไฟท้าย ลดการสะท้อนแสงที่อาจรบกวนผู้แข่งคนอื่น และลดโอกาสเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสัญญาณไฟ
- ต้องติดตั้งถาดรองน้ำมันเครื่องหรือแฟริ่งอกล่างที่ไม่มีรู เพื่อป้องกันของเหลว เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก หรือของเหลวอื่น ๆ รั่วไหลลงสู่พื้นแทร็ก
ข้อยกเว้นเฉพาะรุ่นแข่งขัน
- ยกเว้นอกล่างสำหรับรุ่น Triumph ‘Triple Engine Trophy’ 660 – 1200 cc / Italjet Dragster 300cc
วิธีการร้อยลวดสเตนเลสที่ถูกต้อง
- ใช้ลวดสเตนเลสขนาดที่เหมาะสม
โดยทั่วไปใช้ขนาด 0.8 – 1.2 มม. ขึ้นอยู่กับขนาดของน็อต - เจาะรูที่หัวน็อตหรือตัวล็อก (ถ้ายังไม่มีรู)
น็อตบางตัวอาจต้องเจาะรูเพิ่มเพื่อให้ร้อยลวดได้ - ร้อยลวดในทิศทางที่ล็อกน็อตไว้ ไม่ใช่ดึงให้คลายออก
ควรดึงลวดให้ตึงและพันในทิศทางที่ทำให้น็อตอยู่กับที่ - พันลวด 2-3 รอบแล้วบิดเกลียวเพื่อความแข็งแรง
ใช้คีมบิดลวด (Safety Wire Pliers) เพื่อให้แน่นและเรียบร้อย - ตรวจสอบความแข็งแรงของลวดที่ร้อยก่อนลงแข่ง
ลวดต้องไม่หย่อน หรือมีโอกาสหลุดออกจากน็อต
บทลงโทษหากไม่ผ่านการตรวจสอบ
หากรถไม่ผ่านการตรวจสอบ มีบทลงโทษที่แตกต่างกันไปตามระดับของปัญหา เช่น:
⚠ ปรับแก้ไขก่อนแข่ง – หากเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย นักแข่งอาจได้รับโอกาสให้แก้ไขและนำมาตรวจใหม่
❌ ถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน (Disqualification) – หากพบการกระทำผิดที่ร้ายแรง เช่น การดัดแปลงเครื่องยนต์ที่ผิดกฎ
🚫 ถูกปรับหรือลงโทษเพิ่มเติม – อาจมีการหักคะแนน ปรับเงิน หรือถูกแบนจากการแข่งขันในอนาคต

ข้อบังคับการแต่งกาย
- หมวกกันน๊อคแบบเต็มใบ ควรเป็นหมวกที่ผ่านมาตราฐาน SNELL
- ชิวล์หมวกกันน๊อคอยู่ในสภาพดีแน่นหนาสายรัดคางต้องอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยฉีกขาด
- เสื้อแจ๊คเก็ตที่มีการ์ดสำหรับขี่จักรยานยนต์
- รองเท้าหุ้มข้อ
- ไม่อนุญาตให้ใส่รองเท้าฟองน้ำลงสนาม
- ถุงมือ ต้องเป็นถุงมือที่ออกแบบมาเพื่อสำหรับขี่จักรยานยนต์
อุปกรณ์แนะนำ
- ชุดหนังท่อนเดียว หรือสองท่อน ซึ่งมีซิปเชื่อมติดกัน
- การ์ดเข่า, แข้ง หรือ สนับ
- การ์ดป้องกันหลัง
กฏการแซง (สำหรับทุกกลุ่มในกิจกรรม Track day)
- ผู้ขับขี่ที่นำอยู่ข้างหน้ามีสิทธ์ในทางเสมอ ขณะทำการแซง เป็นหน้าที่ของผู้ที่ทำการแซงที่จะแซงด้วยความปลอดภัยด้วยการทิ้งระยะ ให้ผู้ที่กำลังถูกแซงโดยไม่กีดขวาง, ขวางทางหรือทำให้ผู้นั้นไปต่อไม่ได้หรือไปได้ด้วยความลำบาก
- จะไม่มีการโต้แย้งในกฎข้อนี้ เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการแซง ผู้ที่ทำการแซงจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าอุบัติเหตุนั้นจะเกิดขึ้นก่อน ในระหว่าง หรือหลังการแซง เนื่องจาก ผู้ขับขี่ข้างหน้าไม่สามารถมองเห็นผู้ที่ตามมาและกำลังแซงได้
- หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการแซง ผู้ที่ทำการแซงอาจถูกขอให้ออกจากสนาม โดยไม่มีการคืนค่าสมัคร
การเตรียมตัว

ข้อบังคับการแต่งกาย
- หมวกกันน็อค (Helmet)
- หมวกกันน็อคต้องเป็นหมวกเต็มใบ (Full-face helmet) ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย เช่น มาตรฐาน DOT, Snell, หรือ ECE
- หมวกต้องมีการปิดคางแน่นหนาและมั่นคงเพื่อลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- ต้องมีหน้ากากป้องกัน (visor) ที่ช่วยในการมองเห็นชัดเจนและป้องกันสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นหรือแมลง
- ชุดหนังป้องกันการกระแทก (Leather Suit)
- ชุดต้องเป็นแบบชุดเต็มตัวที่ทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่ทนทานต่อการขูดขีดและการกระแทก
- บริเวณที่สำคัญ เช่น เข่า ศอก ไหล่ และสะโพก ต้องมีแผ่นกันกระแทกเสริมเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
- ชุดต้องกระชับพอดีตัว และต้องมีระบบป้องกันการถอดหลุดจากร่างกายระหว่างที่เกิดอุบัติเหตุ
- ถุงมือ (Gloves)
- ถุงมือที่ใช้ต้องคลุมมิดทั้งมือและข้อมือ
- ต้องทำจากวัสดุที่ทนทาน และมีการเสริมแผ่นกันกระแทกที่บริเวณฝ่ามือและนิ้วมือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
- ถุงมือต้องยืดหยุ่นพอที่จะให้นักแข่งสามารถควบคุมคันเร่งและเบรกได้อย่างคล่องตัว
- รองเท้า (Boots)
- รองเท้าต้องเป็นแบบบู๊ทสูงที่ป้องกันขาและข้อเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ต้องทำจากวัสดุที่ทนทาน มีการเสริมแผ่นป้องกันที่บริเวณข้อเท้าและส้นเท้าเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
- พื้นรองเท้าต้องไม่ลื่นและต้องมีการยึดเกาะที่ดีในขณะที่นักแข่งใช้เกียร์และเบรก
- อุปกรณ์เสริมเพื่อความปลอดภัย
- แผ่นรองหลัง (Back Protector): จำเป็นต้องมีการใส่แผ่นรองหลังเพื่อป้องกันกระดูกสันหลังหากเกิดอุบัติเหตุ แผ่นนี้จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยที่ FIM กำหนด
- แผ่นรองหน้าอก (Chest Protector): เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกระแทกที่หน้าอกจากการล้ม
- การตรวจสอบอุปกรณ์
- ก่อนการแข่งขัน เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดของนักแข่งเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นเป็นไปตามข้อกำหนดและพร้อมใช้งานในการแข่งขัน
- หากอุปกรณ์ใดไม่ผ่านการตรวจสอบ นักแข่งจะต้องทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ลงแข่งขัน

อุปกรณ์แนะนำ
- ชุดหนังท่อนเดียว หรือสองท่อน ซึ่งมีซิปเชื่อมติดกัน
- การ์ดเข่า, แข้ง หรือ สนับ
- การ์ดป้องกันหลัง

อื่นๆ
- ติดหมายเลขรถที่หน้ารถ ห้ามติดบริเวณอื่นๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และต้องใช้สติ๊กเกอร์และเบอร์จากผู้จัดการแข่งขันเท่านั้น
- ตัวรถไม่สามารถติดสติ๊กเกอร์แบรนด์ยางยี่ห้ออื่นลงไปขับขี่ได้ ยกเว้นแบรนด์ Pirelli เท่านั้น
- ตัวรถต้องไม่มีการดัดแปลงแฟริ่งที่อาจจะทำให้เกิดการเฉี่ยวชน หรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่นได้
- ห้ามติดกล้องที่มีลักษณะเป็นไม้เซลฟี่ เกินออกมาเกินตัวรถเด็ดขาด
- ต้องติดเทปดำ บริเวณไฟหน้าและไฟท้าย เพื่อป้องกันการแตกกระจายของกระจกไฟหน้าและไฟท้าย ลดการสะท้อนแสงที่อาจรบกวนผู้แข่งคนอื่น และลดโอกาสเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสัญญาณไฟ
- ต้องติดตั้งถาดรองน้ำมันเครื่องหรือแฟริ่งอกล่างที่ไม่มีรู เพื่อป้องกันของเหลว เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก หรือของเหลวอื่น ๆ รั่วไหลลงสู่พื้นแทร็ก
ข้อยกเว้นเฉพาะรุ่นแข่งขัน
- ยกเว้นอกล่างสำหรับรุ่น Triumph ‘Triple Engine Trophy’ 660 – 1200 cc / Italjet Dragster 300cc / KTM 390 Series
วิธีการร้อยลวดสเตนเลสที่ถูกต้อง
- ใช้ลวดสเตนเลสขนาดที่เหมาะสม
โดยทั่วไปใช้ขนาด 0.8 – 1.2 มม. ขึ้นอยู่กับขนาดของน็อต - เจาะรูที่หัวน็อตหรือตัวล็อก (ถ้ายังไม่มีรู)
น็อตบางตัวอาจต้องเจาะรูเพิ่มเพื่อให้ร้อยลวดได้ - ร้อยลวดในทิศทางที่ล็อกน็อตไว้ ไม่ใช่ดึงให้คลายออก
ควรดึงลวดให้ตึงและพันในทิศทางที่ทำให้น็อตอยู่กับที่ - พันลวด 2-3 รอบแล้วบิดเกลียวเพื่อความแข็งแรง
ใช้คีมบิดลวด (Safety Wire Pliers) เพื่อให้แน่นและเรียบร้อย - ตรวจสอบความแข็งแรงของลวดที่ร้อยก่อนลงแข่ง
ลวดต้องไม่หย่อน หรือมีโอกาสหลุดออกจากน็อต
บทลงโทษหากไม่ผ่านการตรวจสอบ
หากรถไม่ผ่านการตรวจสอบ มีบทลงโทษที่แตกต่างกันไปตามระดับของปัญหา เช่น:
⚠ ปรับแก้ไขก่อนแข่ง – หากเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย นักแข่งอาจได้รับโอกาสให้แก้ไขและนำมาตรวจใหม่
❌ ถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน (Disqualification) – หากพบการกระทำผิดที่ร้ายแรง เช่น การดัดแปลงเครื่องยนต์ที่ผิดกฎ
🚫 ถูกปรับหรือลงโทษเพิ่มเติม – อาจมีการหักคะแนน ปรับเงิน หรือถูกแบนจากการแข่งขันในอนาคต
คำแนะนำในการตรวจสภาพความพร้อมของรถคุณ
ระบบเครื่องยนต์และตัวรถ (Engine and Chassis System)
- ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของรุ่นที่เข้าแข่งขัน
- ไม่สามารถมีการดัดแปลงที่ผิดกฎเกณฑ์ที่กำหนด
- เราแนะนำให้ใช้น้ำเปล่าแทนน้ำยาหล่อเย็นเพราะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ อาจเกิดการรั่วไหลลงบนสนามได้ และน้ำยาหล่อเย็นทำให้พื้นสนามลื่นเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่และยากต่อการทำความสะอาด
- การร้อยลวดสเตนเลส (Safety Wiring) ในการแข่งขัน ชิ้นส่วนดังนี้
- น๊อตยึดคาร์ลิเปอร์เบรคหน้าซ้าย-ขวา
- น๊อตอ่างน้ำมันเครื่อง
- น๊อตเติมน้ำมันเครื่อง
ระบบเบรก (Braking System)
- เบรกหน้าและเบรกหลังต้องทำงานได้ดี
- ผ้าเบรกต้องมีความหนาที่เหมาะสม ไม่สึกหรอเกินไป
- น้ำมันเบรกต้องอยู่ในระดับที่เพียงพอ
ระบบกันสะเทือน (Suspension)
- โช้คอัพหน้าและหลังต้องทำงานได้ปกติ ไม่มีน้ำมันรั่วซึม
- ระบบกันสะเทือนต้องอยู่ในสภาพที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี
ระบบโซ่-สเตอร์ก่อนแข่งขัน
- โซ่ต้องไม่หย่อนหรือแน่นเกินไป
- ปกติระยะหย่อนที่เหมาะสมอยู่ที่ 20-30 มม. ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ
- ตั้งโซ่ให้มีความตึงพอดีเมื่อมีนักแข่งนั่งอยู่บนรถ
- “ที่ครอบโซ่” (Chain Guard) กำหนดให้รถแข่งต้องมีที่ครอบโซ่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ต้องเป็นวัสดุที่แข็งแรง ไม่แตกร้าวง่าย
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel System)
- ถังน้ำมันต้องไม่มีรอยรั่วซึม
- สายส่งน้ำมันต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์
อุปกรณ์ป้องกันตัวนักแข่ง (Safety Equipment)
- ชุดแข่งต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เช่น หนังแท้หรือวัสดุที่ทนต่อแรงเสียดทาน
- หมวกกันน็อกต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัย
- ถุงมือและรองเท้าต้องเป็นแบบที่ได้รับการรับรอง
ล้อและยาง (Wheels & Tires)
- ยางต้องมีดอกยางที่เหมาะสมตามประเภทของการแข่งขัน
- ห้ามใช้ยางที่มีสภาพสึกหรอหรือเสียหาย
- ล้อและซี่ล้อต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
- ต้องใช้ยาง Pirelli ในการลงซ้อมและแข่งขันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ยางยี่ห้ออื่นๆ ได้ ยกเว้นในกรณีที่ Pirelli ไม่มียางไซส์นั้นๆ จำหน่าย
