4 – MICHELIN POWER RS
ผลิตขึ้นมาอย่างไร
มันไม่ใช่ยางที่เจ๋งที่สุดในการทดสอบเปรียบเทียบในครั้งนี้ แม้มันเพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว (แต่ 1 ปีหลังจากการเปิดตัวหมายถึงโอกาสที่จะพัฒนาของคู่แข่งที่ส่งผลให้เกิดยางที่แตกต่างไปจากปัจจุบันได้) Power RS ยังสามารถรักษาตำแหน่งแนวหน้าไว้ได้ โดยมันมาแทน Pilot Power 3 และ Pilot Supersport เทคโนโลยี ACT + (Active Case Technology) ออกแบบให้โครงสร้างผ้าใบนั้นไขว้กันเองเพื่อเปลี่ยนแปลงความแข็งแรงของโครงสร้างด้วยตัวมันเอง (โครงสร้างตรงกลางจะนุ่มกว่า แต่ส่วนไหล่ยางจะแข็งแรงกว่า) Power RS บอกกับเราว่าวิธีทางเทคนิคนี้ได้สืบทอดมาจาก Road 5 ยางเป็นแบบ 2 คอมปาวด์ทั้งหน้าและหลัง ยางหน้า (68% ฮาร์ด – 16% ซอฟต์) และยางหลัง (54% ฮาร์ด – 23% ซอฟต์) ในยางหลังนั้น Michelin ใช้เทคโนโลยี 2CT + มีคอมปาวด์ที่แข็งแรง (100% ซิลิก้าsilica) และคอมปาวด์ที่นุ่มกว่าที่ไหล่ยาง (คาร์บอนแบล็กล้วนไม่มีซิลิก้า)
ทดสอบสนาม
Michelins ยังคงยึดรักษาความสปอร์ตของยางเอาไว้ตามคำมั่น ยางนั้นค่อนข้างไว โดยเฉพาะยางหน้าซึ่งก้าวร้าวมากแต่จัดการได้ คาแรคเตอร์ของยางมักจะมีจุดเด่นในเรื่องโครงสร้างที่เบา (ความเฉื่อยน้อย) ยางนั้นให้ความเสถียรดีมากขณะเบรค ด้วยความแม่นยำและความเสถียรทำให้เข้าออกโค้งได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับยางรุ่นก่อนๆ ในอดีตของ Michelin ยางซูเปอร์สปอร์ตตัวนี้คืออีกระดับนึง ขีดจำกัดของ RS เผยออกมาให้เห็นชัดตอนที่พับรถเข้าโค้งซึ่งล้อหลังจะออกอาการแถเล็กน้อยและล้อหน้าก็ดูเหมือนจะไม่ตามออกไปด้านข้างในระดับเดียวกันทำให้ลอยและเกิดอันเดอร์สเตียร์ ด้วยเหตุนี้คุณจะต้องเหนื่อยกับการปิดไลน์ ทำให้คุณต้องพับนานขึ้นและต้องเสียเวลาในโค้งไป การเสียการยึดเกาะที่ล้อหลังไปเล็กน้อยนั้นแสดงให้เห็นว่ายางมีการยึดเกาะที่ค่อนข้างดี แม้แต่ในตอนที่เปิดคันเร่งเต็มที่ การตอบสนองของ Michelin นั้นดี ดูดซับแรงกระแทกและส่งผ่านไปหาผู้ขี่น้อยมาก อย่างไรก็ตามแม้ว่ามันจะเป็นยางที่ไม่ได้ดีที่สุด แต่ Power RS ยังเป็นยางที่นุ่มสบายดีทีเดียว แต่เรื่องที่ไม่ดีเอาซะเลยนั้นเกิดเมื่อยางเริ่มหมด ก็จะมีรอยจั๊มพ์ของคอมปาวด์ยางโผล่ออกมาบริเวณรอยต่อของซอฟต์คอมปาวด์และคอมปาวด์ตรงกลาง
ทดสอบเปียก
ถ้าทดสอบแต่พื้นเปียกอย่างเดียวล่ะก็ Michelin อาจจะได้เข้าชิงเป็นตัวเลือกยางที่ดีที่สุด เพราะตามธรรมชาติแล้วยางแบบี้เหมาะกับการขี่บนพื้นเปียกอย่างมาก จนควรจะต้องบันทึกไว้ว่าการยึดเกาะที่ผมสัมผัสได้จากการทดสอบพื้นแห้งนั้นจะยิ่งรู้สึกได้มากขึ้นเวลาถนนเปียกชุ่มไปด้วยน้ำฝน คุณต้องพยายามฝืนยางหน้าแม้จะมีอาการแฉลบออกข้างไปบ้างเวลาพับ (แต่ก็ยังน้อยกว่า Dunlop และ Continental) เพื่อที่จะรักษาไลน์เอาไว้ ส่วนยางหลังกลับมีการยึดเกาะที่ตลอด ผมสัมผัสได้ถึงการซัพพอร์ตของยางไม่ต่อเนื่องเวลาที่เข้าโค้ง แม้จะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยตรงรอยต่อของสองคอมปาวด์ หรือระหว่างคอมปาวด์ตรงกลางที่มีซิลิก้าและด้านข้างที่ออกแบบมาให้ได้สมรรถนะสูงเวลาขับขี่บนถนนแห้ง เนื่องจากจุดเปลี่ยนส่วนผสมของเนื้่อยางนั้นสูงมากไปนิดและส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจเวลาพับโค้งบนถนนเปียก อย่างไรก็ดีไม่มีคนที่บอกว่ามีการเสียการยึดเกาะชัดๆ มีเพียงเสี้ยวเล็กเท่านั้น การยึดเกาะถือว่าดี ทว่าเวลาพับในโค้งที่มีน้ำนอง จุดที่น้ำไม่ใช่แค่เจิ่งธรรมดา แต่เป็นน้ำขัง การออกแบบร่องดอกยางดูเหมือนจะทำให้เกิดความยากในการรีดน้ำมากกว่าค่ายอื่นเล็กน้อยเนื่องจากผลของปรากฎการณ์อะควอเพลน ไม่ได้ทำให้ไม่ปลอดภัยเลย แต่มันทำให้รู้สึกไม่มั่นใจอยู่บ้าง
ทดสอบในแทร็ก – เวลาที่ดีที่สุด | 1.44.96 |
ทดสอบในแทร็ก – เวลาเฉลี่ย* | 1.45.32 |
ทดสอบพื้นเปียก– เวลาที่ดีที่สุด | 41.807 |
ทดสอบพื้นเปียก– เวลาเฉลี่ย* | 42.578 |
*เวลาเฉลี่ยจากการทดสอบต่อเนื่อง 5 แล็ป
ผลคะแนนการทดสอบ Michelin Power RS
คะแนนที่ได้
การควบคุม | ★★★½ |
การยึดเกาะที่ยางหน้า | ★★★ |
การยึดเกาะที่ยางหลัง | ★★★★ |
การรักษาไลน์ | ★★★ |
ความเสถียร | ★★★½ |
พื้นเปียก | ★★★★ |
ความเสถียรขณะเบรค | ★★★ |
สรุปคะแนน | 3,43 |