Red-live.it ปฏิวัติใต้สายฝน จับยาง Enduro Street 6 ยี่ห้อเทสต์ฝนสุดโหด!!

ปฏิวัติใต้สายฝน

นับตั้งแต่การทดสอบเปรียบเทียบครั้งที่แล้วของเรา ก็ได้มียางรุ่นใหม่ 3 รุ่นเปิดตัวขึ้นมาเอาใจนักเดินทาง เราจึงทำการทดสอบเปรียบเทียบยางรุ่นต่างๆ ผ่านบททดสอบต่างๆ ของเรา ทั้งอาการของยาง การยึดเกาะเวลาฝนตก การเบรคบนถนนเปียกและถนนแห้ง…สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้นั้นน่าทึ่งมากเลย! เอาละลองไปอ่านกันเลย

ขี่กลางสายฝนได้ดียิ่งขึ้น ระยะเบรคบนถนนเปียกสั้นลง… ยางสำหรับขี่ถนนรุ่นใหม่ๆ นั้นมีสมรรถนะที่ดีจนน่าประทับใจ ในปี 2014 นั้นเราเคยทดสอบเปรียบเทียบกันไปแล้ว โดยเราพบถึงความแตกต่างระหว่างยางรุ่นใหม่ๆ และยางรุ่นเก่าอย่างเห็นได้ชัด ในตอนนั้น Continental TrailAttack 2, Michelin Anakee 3 และ Metzeler Tourance Next ทำผลงานการทดสอบของเราด้านการเบรคและอาการในการขี่ตอนฝนตกได้ดีกว่ายางรุ่นเก่าของตัวเองมาก ต้องบอกเลยว่าช่วงเวลา 1 ทศวรรษหรือมากกว่านั้นแบ่งแยกยางทั้ง 2 เจเนอเรชั่นออกจากกันอย่างชัดเจน เรียกได้ว่าคลื่นลูกใหม่ทางเทคโนโลยีก็ว่าได้

ก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด

นับตั้งแต่นั้น Bridgestone, Dunlop และ Pirelli ก็พัฒนาและปรับปรุงยางของพวกเขาให้ดีขึ้น ให้สอดคล้องกับลักษณะทางเทคนิคของรถ (กำลังแรงม้า การควบคุม และระบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยเหลือผู้ใช้) ของเจ้า BMW R 1200 GS, Triumph Tiger, KTM Adventure และทัวริ่งแอดเวนเจอร์รุ่นอื่นๆ ภายในเวลาเพียงแค่ 2 ปี  การพัฒนานั้นก้าวกระโดดมาก ยาง 3 รุ่นใหม่รั้งตำแหน่งท็อปในการทดสอบของเราทันที ทว่าไม่ใช่ว่า Continental, Michelin และ Metzeler นั้นแย่ แต่พวกมันแค่ตกรุ่นไปเฉยๆ ด้วยยางเหล่านี้การขี่รถที่เจิ่งนองด้วยน้ำของศูนย์ทดสอบ Fontange (Bouches-du-Rhône) ของทาง Michelin ได้เกือบเหมือนกับขี่บนถนนแห้ง นอกจากนี้ระยะเบรคจากการทดสอบกับยาง A40 และ Scorpion Trail 2 ด้วยรถ BMW GS ที่วิ่งด้วยความเร็ว 80 กม./ชม.ยังหยุดได้สั้นกว่ายางของ  Continental หรือ Metzeler ถึง 4 เมตร ซึ่งสุดจัดครับ!

 

พัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์

เราจะอธิบายความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดภายในเวลาแค่ 2 ปีนี้อย่างไร? ผู้ผลิตยางตกลงที่จะสดุดีให้กับผลงานของนักเคมีที่พัฒนาคอมปาวด์ของหมากฝรั่งขึ้น เช่น ซิลิก้าที่ช่วยให้ยางนั้นมีความทนทานและสามารถรับมือกับอุณหภูมิต่ำๆ และอุณหภูมิสูงๆ ได้ดีมากขึ้น แต่ส่วนผสมนั้นจะไม่มีรสชาติอะไรเลยหากว่าขาดการปรุงที่ดีด้วยเตาที่ดี การควบคุมการผลิตและกระบวนการผสานส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งสองสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญ อีกจุดนึงคือยางกลุ่มนี้มักจะใช้ขับขี่บนทางดำซะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นยางพวกนี้จึงทดสอบเปรียบเทียบได้ง่าย เว้นแต่ว่าโครงสร้างยางนั้นถูกเสริมความแข็งแรงให้ทนทานต่อความคมของกรวดหินที่ใช้ทำถนนลาดยาง

สิ่งที่เรายังไม่ทราบชัดคือ อายุการใช้งานที่ยังคงให้สมรรถนะที่น่าพึงพอใจของยางเหล่านี้ และสมรรถนะนั้นลดน้อยลงมากน้อยแค่ไหนเมื่อยางสึกหรอมากขึ้น นั่นเป็นคำถามที่มีแต่การใช้งานจริงในทุกๆ วันเท่านั้นที่จะช่วยตอบคำถามเหล่านี้ได้

เราทดสอบกันอย่างไร

ระยะเบรคบนถนนแห้งและบนถนนเปียก อาการบนถนนเปียก และการควบคุม: เราเลือกที่จะดึงจุดเด่นของยางกลุ่มนี้ออกมาด้วยการจำลองสถานการณ์ที่เรามักจะเจอบ่อยๆ เวลาเดินทาง และอย่างที่เคย เราไม่ได้ต้องการหาขีดจำกัดของการยึดเกาะบนถนนแห้ง ซึ่งมันจำเป็นต้องใช้ถนนโล่งๆ ในการทดสอบซึ่งยากต่อการควบคุม

สนาม เราทดสอบกันที่ศูนย์ทดสอบ Fontange (Bouches-du-Rhône) ของ Michelin ที่ซึ่งสามารถให้เราทดสอบได้ในสภาวะที่ดีที่สุด โดยสนามส่วนนี้จะมีนักทดสอบมาใช้ทดสอบดูอาการของยางขณะเบรคและขณะถนนเปียก

รถ จะมีรถอะไรเหมาะกับการทดสอบยางกลุ่มนี้ไปได้นอกเสียจากเจ้า BMW R 1200 GS? รถคุณภาพดีจากเมืองบาวาเรียที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม โดย BMW ขายมันไปแล้วกว่า 3,451 คัน (2,247 คันสำหรับ GS และ 1,204 คันสำหรับ GS Adventure) ในปี 2015! เพื่อให้มีความแม่นยำมากขึ้น เราทำการปิดแทร็คชั่นคอนโทรลเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนระหว่างที่ทำการทดสอบ

บททดสอบ . ทีมช่างของเราทั้ง 2 คนที่ชำนาญการมากๆ มาช่วยเราเปลี่ยนยางในครั้งนี้

อุปกรณ์เฉพาะทาง . ระยะเบรคนั้นเราได้รับตัวเลขจากอุปกรณ์เฉพาะซึ่งเราใส่ไว้ในกระเป๋าติดถัง เพื่อวัดอัตราการลดความเร็วของรถผ่านเซ็นเซอร์ที่อยู่ภายใน ก่อนจะเริ่มก็จำเป็นต้องมีการปรับตั้งค่ากันเสียก่อน

ความดัน ยางจะถูกเติมลมยางตามที่ทาง BMW แนะนำคือ 2.5 บาร์ที่ยางหน้าและ 2.9 บาร์ที่ยางหลัง

การควบคุม. หลังจากเปิดหน้ายางเพื่อกำจัดฟิล์มลื่นๆ ที่เคลือบยางไว้เพื่อเอาออกจากแม่พิมพ์ได้ง่าย เราถึงจะเริ่มทำการทดสอบดูเรื่องการควบคุม

อาการบนถนนเปียก การยึดเกาะและความสามารถในการรีดน้ำของยางเป็นสิ่งสำคัญในการขี่ในสายฝนได้อย่างปลอดภัย เราเข้าโค้งในสนามที่มีน้ำเจิ่งนองด้วยระบบฉีดน้ำ ในแต่ละโค้งก็ให้การยึดเกาะแตกต่างกัน บ้างก็ให้ความรู้สึกแบบเดียวกับถนนในวันที่อากาศหนาวเย็นและเปียกชื้น แน่นอนว่ามันลื่นมากๆ

การเบรค ประสิทธิภาพในการเบรคของยางเหล่านี้ถือว่าดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะเวลาฝนตก ดังนั้นเราจึงทดสอบการเบรคที่ความเร็ว 80 กม./ชม. โดยทดสอบบนแทร็กแห้ง จากนั้นก็เป็นการทดสอบบนถนนที่มีน้ำเจิ่งนองที่จำลองสภาพถนนที่ฝนตกการยึดเกาะที่น้อยและไม่ปลอดภัย

ผู้เขียน. การทดสอบนั้นมีผู้เชี่ยวชาญอย่าง Yannick Leverd ซึ่งเป็นทีมงานของ Moto Magazine เอง เขามีรถทัวริ่งแอดเวนเจอร์ที่ใช้งานจริงท่องไปแล้วทั่วยุโรป ไม่เกี่ยงว่าเป็นหน้าร้อนหรือหน้าหนาว

 

Pirelli ScorpionTrail 2

คะแนน 9/10

การควบคุม ★★★★

การยึดเกาะบนถนนลื่น ★★★★★

การเบรคบนถนนแห้ง ★★★★

การเบรคบนถนนเปียก ★★★★★

ถนนต้องยอมสยบให้กับ PIRELLI SCORPION TRAIL 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเจอฝน ซึ่งเป็นสภาวะที่ยางรุ่นนี้ทำให้เราประทับใจได้อย่างแท้จริง

การควบคุม Pirelli อยู่ตรงกลางระหว่างความก้าวหน้าของ Anakee 3 และความคล่องตัวของ TrailSmart โดย GS ของเราตอบสนองต่อแรงกระแทกบนแฮนด์บาร์ได้ในทันทีและตอบสนองกับมันได้อย่างนุ่มนวล บางครั้งมีสับสนบ้างที่ความเร็วต่ำ โปรไฟล์ยางนี้จะนิ่งกว่านี้ที่ความเร็วที่สูงๆ หน่อย ตัวรถตอบสนองความต้องการได้โดยไม่มีการเคลื่อนไหวที่เกินพอดี ความแข็งแรงของโครงสร้างช่วยให้เกิดความเสถียรที่ยอดเยี่ยม

อาการบนถนนเปียก ST2 นั้นน่าทึ่งเวลาต้องวิ่งบนถนนที่เปียกน้ำซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก หลังจากผ่านการวอร์มอัพไปรอบนึงแล้ว มันเยี่ยมยอดเหมือนอยู่ในงานเทศกาลเลย ยางสัญชาติอิตาลีแทบจะติดเป็นเนื้อเดียวกับยางมะตอยไปจนถึงจุดที่เริ่มสงสัยว่าระบบฉีดน้ำในสนามทดสอบนั้นไม่ได้ทำงานหรือเปล่า ตัวจับเวลาเองก็เผยให้เห็นถึงความมั่นใจจากการใช้ยางด้วยสถิติเวลาแล็ปที่เร็วที่สุดอีกด้วย พื้นที่ที่ลื่นที่สุดกับถูกพิชิตไปได้โดยไม่มีปัญหาการลื่นหรือว่าสไลด์แต่อย่างใด

การเบรค การยึดเกาะที่ดีรู้สึกได้เวลาขับขี่ท่ามกลางสายฝน ยืนยันได้จากระยะการเบรคบนการทดสอบบนแทร็กเปียก Pirelli ช่วยให้ GS หยุดได้ในระยะ 33.60 ม.เท่ากันกับ Bridgestone

จุดเด่น จุดด้อย
ความหนึบในสายฝน

ระยะเบรคบนถนนเปียก

อายุการใช้งาน?

 

BRIDGESTONE A40

คะแนน 8/10

การควบคุม ★★★

การยึดเกาะบนถนนลื่น ★★★★

การเบรคบนถนนแห้ง ★★★★★

การเบรคบนถนนเปียก ★★★★★

BRIDGESTONE ทำคะแนนได้ดีด้วยยาง A40 มันเป็นอย่างที่ดีซึ่งได้รับการพิสูจน์ระหว่างการทดสอบในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ทว่าน่าเสียดายที่มีไซส์ให้เลือกเพียง 2 ขนาด

การควบคุม ตั้งแต่แรกเริ่มล้อหมุน ก็รับรู้ได้ถึงโครงสร้างยางที่แข็งแรง เป็นอะไรที่เหมาะกับรถหนักๆ อย่าง GS เพราะว่ามันช่วยเพิ่มความเสถียนที่ความเร็วต่ำ ในโค้งแคบๆ รถทัวริ่งของเราตอบสนองได้โดยปราศจากแรงกระแทกที่แฮนด์บาร์ที่รุนแรง ความโค้งของหน้ายางนั้นต่อเนื่องดีและมั่นใจได้จนเราลืมเรื่องยางไปเลย เสียดายมีเพียงไซส์ 110 / 80R19, 150 / 70R17 ที่ด้านหน้าและ 120 / 70ZR19, 170 / 60ZR17 ที่ด้านหลัง

อาการบนถนนเปียก ที่ความเร็วขี่ถนนธรรมดา A40 โลดแล่นในสายฝนได้ GS สามารถแหวกชั้นฟิล์มของผิวน้ำได้โดยไม่มีอาการใดๆ เราขี่แบบสปอร์ตเพื่อหาอาการ จนสุดท้ายเราก็สัมผัสได้ถึงการสะบัดที่ล้อหลัง มีการลื่นอยู่แต่ว่ายังอยู่ในการควบคุม

การเบรค ไม่ใช่แค่เพียงพอใช้ แต่การเบรคคือจุดเด่นของ A40 มันเบรคได้ดีมากทั้งบนถนนแห้งและถนนเปียก สมรรถนะของมันดีจนระยะเบรคบนถนนเปียกเกือบเท่ากับระยะเบรคบนถนนแห้งของ Dunlop ต่างกันแค่เมตรเดียวเท่านั้น!

จุดเด่น จุดด้อย
ระยะเบรค

การยึดเกาะและการควบคุมในสายฝน

ขนาดที่มีให้เลือกใช้น้อย

 

DUNLOP TRAILSMART

คะแนน 8/10

การควบคุม ★★★★★

การยึดเกาะบนถนนลื่น ★★★★★

การเบรคบนถนนแห้ง ★★★

การเบรคบนถนนเปียก ★★★

TRAILSMART ถูกแยกให้อยู่ในยางหมวดสปอร์ตทัวริ่งเนื่องจากความยึดเกาะและความคล่องตัวที่สูง แต่เรื่องการเบรคนั้นทำได้ไม่ดีนัก

การควบคุม เอกลักษณ์ของค่ายยางค่ายนี้สังเกตได้ง่ายแม้มียางนับพัน มันพาเจ้า GS พลิกรถได้อย่างรวดเร็วและแทบไม่มีแรงเครียดที่แฮนด์บาร์เลย เล่นเอาพักเท้าลำบากใจ! Dunlop ช่วยให้เข้าโค้งได้ในองศาแบบเดียวกับยางสปอร์ตโดยไม่ต้องพยายามมากนัก

อาการบนถนนเปียก ระดับของการยึดเกาะของยางนั้นดีจนต้องพยายามยั้งไม่ให้ตัวกันล้มรูดไปกับพื้นสนามทดสอบที่เปียก! มันให้ความมั่นใจที่ดีมากจนต้องเผลอเร่งความเร็วจนเกินเหตุเพื่อพยายามหาลิมิตของยางหลังว่าจะออกอาการในส่วนทดสอบที่ลื่นที่สุดนี้เมื่อไหร่ สิ่งเดียวที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจคือการรับรู้ได้ว่าวงเวียนนั้นรับความเร็วได้ที่ราวๆ 50 กม./ชม.เท่านั้น

การเบรค การทดสอบนี้ Dunlop นั้นอยู่ในระดับทั่วๆ ไป เราหยุด GS บนถนนแห้งได้ห่างจากยางที่ดีที่สุดเพียง 1 เมตร ส่วนบนถนนเปียกความต่างเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ม.เมื่อเทียบกับยางที่ดีที่สุด แต่ที่ระยะเบรคที่แย่ที่สุดนั้นคือห่างออกไป 3.3 ม.

จุดเด่น จุดด้อย
ความสนุก

การยึดเกาะบนถนนเปียก

ระยะเบรคระดับกลางๆ

 

CONTINENTAL TRAILATTACK 2

คะแนน 6/10

การควบคุม ★★★★

การยึดเกาะบนถนนลื่น ★★★

การเบรคบนถนนแห้ง★★★★★

การเบรคบนถนนเปียก ★★

อดีตผู้ชนะในการทดสอบครั้งที่แล้วของเรา อย่างไรก็ดี TRAILATTACK 2  ยังคงพอไหวอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องการควบคุมและการเบรคบนถนนแห้ง

การควบคุม Conti อยู่ในกลุ่มยางที่ขี่ได้สนุกมากที่สุดเนื่องจากมันมีส่วนผสมของความคล่องตัวและควบคุมได้ดี GS ทะยานออกไปได้ดีไม่มีอาการที่ควบคุมไม่ได้ โค้งต่อเนื่องก็ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นที่น่าพอใจมาก

อาการบนถนนเปียก ยางหน้าทำให้รู้สึกมั่นใจในทันทีด้วยความหนึบของมัน ส่วนยางหลังนั้นง่ายมากที่จะหาขีดจำกัดของมัน เรารับรู้ได้ชัดเจนตอนที่ขับขี่บนถนนส่วนที่ลื่นที่สุดของการทดสอบ มันรู้สึกเหมือนกับตอนที่ขี่รถในหน้าหนาว ยางหลังนั้นไถลชัดเจน แต่ก็ยังคืนกลับมาอยู่ใต้การควบคุมได้

การเบรค Conti นั้นอยู่ตรงกันข้ามกับตัวท็อปของการทดสอบนี้ มันมีระยะเบรคบนถนนแห้งที่สั้นที่สุดคือ 31.40 ม. แต่ในการทดสอบโดยรวมแล้วมันกลับไม่ดีนัก การทดสอบบนถนนเปียกมันมีระยะเบรคมากถึง 38 ม. มากที่สุดพอๆ กับ Metzeler อย่างไรก็ดีมันก็ยังมีความเสถียรมากๆ เวลาเบรค

จุดเด่น จุดด้อย
การเบรคบนถนนเปียก

ความคล่องตัว

การเบรคบนถนนเปียก

 

MICHELIN ANAKEE 3

คะแนน 6/10

การควบคุม ★★★

การยึดเกาะบนถนนลื่น ★★★

การเบรคบนถนนแห้ง ★★★★

การเบรคบนถนนเปียก ★★★

เป็นยางติดรถตัวนึงของ GS ที่โดนคู่แข่งที่เป็นรุ่นใหม่กลบกระแส แต่ยังไงก็ดี ANAKEE 3 ก็ยังคุ้มค่า 

การควบคุม โปรไฟล์ของยางนั้นเข้าโค้งได้โดยไม่เหวอ มันเป็นยางที่กลมที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่มันขาดความมีชีวิตชีวาเวลาต้องเจอกับสภาพถนนที่ยากลำบาก ทว่าก็เสถียรดี

อาการบนถนนเปียก ยางหน้านั้นแหวกฟิล์มผิวน้ำได้ดี แต่ยางหลังเป็นอีกเรื่อง ด้วยมิติ 170/60 ทำให้ยางหลังนั้นกลม มันถึงไถลมากกว่าเวลาเข้าโค้งแคบๆ โชคยังดีที่ยังพอควบคุมได้ แต่มันทำให้เราต้องชะลอความเร็ว

การเบรค เป็นยางเก่าที่ดีที่สุด ระยะเบรคที่ 32 ม. Anakee 3 จึงรั้งตำแหน่งระยะเบรคบนถนนแห้งที่ค่อนข้างดี แต่ในถนนเปียกมันกลับทำได้แค่ลำดับกลางๆ

จุดเด่น จุดด้อย
ความเสถียร
ระยะเบรคบนถนนแห้ง
การเบรคบนถนนเปียก

 

 

 

METZELER TOURANCE NEXT

คะแนน 6/10

การควบคุม ★★★★

การยึดเกาะบนถนนลื่น ★★★

การเบรคบนถนนแห้ง ★★★★

การเบรคบนถนนเปียก ★★

ตอนทดสอบเมื่อปี 2014 METZELER มีสมรรถนะที่ยอดเยยี่ม แต่ทุกวันนี้มันด้อยลงมาก

การควบคุม เรายังคงชอบยางรุ่นนี้ด้วยเหตุที่ว่ามันทำให้เจ้า GS นั้นขี่ได้ง่าย รถนั้นตอบสนองได้ดีในทุกๆ สภาวะ ไม่มีการขืน ไม่มีอาการหน้าทิ่ม ไม่เหมือนกับยางตัวอื่นที่อ้างว่าจะช่วยให้รถนิ่ง

อาการบนถนนเปียก หากใช้งานในชีวิตประจำวัน Tourance Next จะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับยางรุ่นใหม่ๆ ในการทดสอบบนถนนเปียก ยางหน้านั้นโอเค แต่ยางหลังนั้นดิ้นหาการยึดเกาะกับพื้นถนนเวลาเข้าโค้ง แต่ในทางตรงนั้นไม่มีปัญหา

การเบรค ระยะเบรคบนถนนเปียกนั้นไม่ดีเท่าไหร่นัก มันสอบตกไปพร้อมๆ กับ Conti โดยระยะเบรคนั้นไกลกว่ายางที่ดีที่สุดถึง 4 ม. แต่บนถนนแห้งกลับไม่เห็นความแตกต่างขนาดใหญ่นี้ (32 ม.)

จุดเด่น จุดด้อย
ความสบาย

ระยะเบรคบนถนนแห้ง

การยึดเกาะบนถนนลื่นๆ

 

 

ยี่ห้อ Pirelli Bridgestone Dunlop Continental Michelin Metzeler
รุ่น Scorpion Trail 2 A40 TrailSmart TrailAttack 2 Anakee 3 Tourance Next
ประเทศผู้ผลิต เยอรมัน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ไทย เยอรมัน
น้ำหนักยางหน้า/หลัง (กก.) 5.2/7.4 5/7.8 5.2/7.4 5/7.6 5.4/7.6 5/7.6
เข็มขัดรัดหน้ายาง (หน้า /หลัง) 1 / 2 1 / 1 1 / 1 1 / 1 1 / 1 1 / 2
การควบคุม ★★★★ ★★★ ★★★★★ ★★★★ ★★★ ★★★★
อาการบนถนนเปียก ★★★★★ ★★★★ ★★★★★ ★★★★ ★★★★ ★★★★
การยึดเกาะบนถนนเปียก ★★★★★ ★★★★ ★★★★★ ★★★ ★★★ ★★★
การขับเคลื่อน ★★★★★ ★★★★ ★★★★★ ★★★★ ★★★★ ★★★★
ระยะเบรค

ถนนแห้ง

32/★★★★ 31.7/ ★★★★★ 32.3/ ★★★ 31.4/ ★★★★★ 32/ ★★★★ 32/ ★★★★
ระยะเบรค

ถนนเปียก

33.6/★★★★★ 33.3/ ★★★★★ 34.7/ ★★★ 38/★★ 35.9/ ★★★ 38/★★
คะแนน 9/10 8/10 8/10 6/10 6/10 6/10

 

ตัดสิน

ท้ายที่สุดแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดความกังวลน้อยลงมากที่สุดคือสมรรถนะรอบด้านที่ยอดเยี่ยม ไม่มียางตัวไหนเลยที่ทำให้เราต้องลำบากในการทดสอบด้านต่างๆ โดยสมรรถนะของ Bridgestone A40, Pirelli Scorpion Trail 2 และ Dunlop TrailSmart อยู่ในระดับที่สูงกว่า และ Pirelli ทำให้เราประทับใจ มันทำให้เรารู้ว่าโลกนี้ไม่ลำบากเกินไปนัก ระหว่างการทดสอบและการเบรคบนถนนเปียก ส่วน Bridgestones นั้นเด่นในเรื่องการเบรคและความสบายในการขับขี่และให้ความเป็นธรรมชาติมากกว่า Dunlop

 

อ้างอิงจาก: https://red-live.it/pneumatici/confronto-pneumatici-enduro-street/

อ่านข่าวสารเพิ่มเติม คลิกทีนี้

- Advertisement -

Related Articles

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่