สะพานยาง คืออะไร มีไว้ทำไม เรามีคำตอบ

สะพานยาง คืออะไร มีไว้ทำไม เรามีคำตอบ

สะพานยาง

สะพานยางนั้นหลายๆ คนที่เป็นไบเกอร์รุ่นเก๋าหรือมีประสบการณ์อยู่แล้วน่าจะรู้จักกันดี แต่สำหรับนักบิดมือใหม่ หรือเพิ่งขับรถมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ได้ไม่นาน ก็อาจจะไม่รู้จักมันก็เป็นได้ และวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเจ้าสะพานยางนี่กันครับ

สะพานยาง
เครื่องหมาย TWI พร้อมลูกศรชี้ระบุว่าร่องไหนมีสะพานยางอยู่

สะพานยางหรือ Tread Wear Indicator คือ จุดที่ใช้เป็นตำแหน่งอ้างอิงว่ายางนั้นสึกหรอไปแล้วมากน้อยแค่ไหน มีลักษณะเป็นบั้งนูนขึ้นมาอยู่ในร่องดอกยาง

แต่สำหรับยางแข่ง (ยางสลิก ยางฝน และยางเว็ท) และยางวิบากหรือยางหนามนั้นจะไม่มีเจ้าสะพานยางนี้อยู่ การจะดูว่ายางนั้นถึงเวลาจะต้องเปลี่ยนแล้วหรือยังจะต้องใช้วิธีการสังเกตแบบอื่นๆ

 

เจ้าสะพานยางนี้จะกระจายตัวไปในร่องดอกยางทั่วทั้งเส้น แต่ไม่ได้มีทุกร่อง ให้สังเกตจากเครื่องหมาย TWI และลูกศร ซึ่งจะเป็นตัวชี้ว่าร่องไหนมีเจ้าสะพานยางอยู่ครับ

ยางใหม่ ดอกยางเต็มๆ ลึกหลายมิลลิเมตร

สำหรับการสังเกตว่าดอกยางหมดแล้วหรือยังนั้นให้วัดความลึกของร่องดอกยางบริเวณที่มีสะพานยางอยู่ครับ สำหรับยางถนนทั่วไปหากวัดด้วยไม้บรรทัดหรือเวอร์เนียร์แล้วความลึกของดอกยางจนถึงสะพานยางนั้นเหลือน้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร (หรือตามคำแนะนำของผู้ผลิตยาง) แนะนำให้ทำการเปลี่ยน

สะพานยาง

หรือว่าหากดูด้วยสายตาเปล่าแล้วเห็นว่ามันสึกจนสะพานยางโผล่ออกมาสัมผัสพื้นถนนแล้วก็ควรจะรีบเปลี่ยนทันทีเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้ เพราะยางจะให้การยึดเกาะได้น้อยมาก หรือไม่มีเลย เวลาเจอน้ำจะลื่น ทำให้รถเสียอาการและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระยะเบรกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เรากะระยะเบรกผิดพลาดและเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

ทั้งนี้การจะเปลี่ยนยางโดยยึดหลักจากการวัดร่องดอกยางโดยอาศัยตัวสะพานยางนี้เป็นตัวบอกนั้นเป็นเพียงการสังเกตว่าควรเปลี่ยนยางเมื่อใดวิธีนึงเท่านั้น

บางกรณีท่านอาจจะต้องเปลี่ยนยางก่อนที่ยางดังกล่าวจะสึกหรอจนหมดอายุการใช้งาน เช่น เกิดอุบัติเหตุตกหลุมหรือชนจนยางรั่ว ยางแตกในบริเวณที่แก้มหรือด้านข้างของยาง ยางบวม หรือยางเสื่อมสภาพจากสาเหตุอื่น เป็นต้น

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

- Advertisement -
Benz SuperBike
Benz SuperBikehttps://www.superbikemag.com/
ธรรมรัตน์ แซ่ลี้ นักเขียน นักแปล ที่จับพลัดจับผลูได้กลายมาเป็นนักเขียนให้กับทาง SuperBike Thailand มาตั้งแต่ปีแรก ๆ ที่ยังเป็นนิตยสาร จนกระทั่งกลายเป็นสื่อออนไลน์เต็มรูปแบบ

Related Articles