สปูน ที่ติดกับสวิงอาร์มรถแข่งมีไว้ทำไม?

สปูน ที่ติดกับสวิงอาร์มรถแข่งมีไว้ทำไม?

สปูน

สปูน ที่ผมจะพูดถึงในคราวนี้ไม่ใช่ สปูนที่ติดด้านข้างสวิงอาร์มรถไว้สำหรับไว้ตั้งสแตนด์ยกล้อรถนะครับ คนละอย่างกันนะครับ อันนี้ผมเรียกทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษเลย บางคนอาจจะเรียกอย่างอื่นก็ได้ แต่ในทีนี้ขอเรียกแบบนี้ล่ะกันนะครับ

เจ้าสปูนที่ว่าเริ่มมีใช้กันในการแข่งขัน MotoGP ตั้งแต่ฤดูกาลที่แล้ว (2019) โดยเจ้าแรกที่คิดออกแบบขึ้นมาคือ Ducati มันเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องของแอโรไดนามิกหรืออากาศพลศาสตร์ ซึ่งสำหรับการแข่งขันแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากๆ โดยทาง Ducati ประดิษฐ์ขึ้นมาโดยมีเป้าหมายว่าจะใช้ทำงานร่วมกันกับครอบล้อหน้าเพื่อช่วยให้อากาศไหลเวียนจากด้านหน้าไปยังด้านหลังได้อย่างลื่นไหล ซึ่งจะช่วยลดแรงฉุดที่จะเกิดขึ้นจากกระแสลมที่ปั่นป่วนนั่นเอง!

 

ด้วยรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ของมัน สปูนจึงสามารถที่จะบังคับทิศทางของอากาศที่อยู่ด้านบนตัวมันขึ้นไปเล็กน้อยและอากาศรอบๆ หน้าล้อหลัง ให้อากาศเหล่านี้เคลื่อนที่ผ่านบริเวณด้านหน้าของล้อหลังและลดกระแสอากาศที่ปั่นป่วนวุ่นวายบริเวณล้อหลังซึ่งจะเกิดขึ้นจากการหมุนของล้อหลัง ดังนั้นในส่วนนี้ สปูนจึงมีหน้าที่หลักๆ คือลดแรงฉุดและเพิ่มความเร็วสูงสุดของรถมอเตอร์ไซค์ อย่างไรก็ตามมันยังมีอะไรมากกว่าแค่เรื่องลดแรงฉุด

ผลลัพธ์อีกอย่างนั้นมีการถกกันว่าช่วยในเรื่องของการลดอุณหภูมิของยางหลัง ซึ่งจะช่วยรวบรวมอากาศให้ไหลผ่านยางหลังขณะที่คุณเร่งความเร็ว ทำให้สามารถดึงอุณหภูมิออกจากหน้ายางหลังได้บางส่วน

ยังมีแนวคิดว่าสปูนนี้ยังช่วยรักษาบาลานซ์ให้กับรถได้ด้วย เมื่อทำงานร่วมกับชุดแอโรไดนามิกด้านหน้าของตัวรถ แรงกดที่ถูกสร้างขึ้นโดยสปูนจะช่วยรักษาระดับของตัวรถไว้ ทำให้รถนิ่งมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังยอมให้ชิ้นส่วนแอโรไดนามิกด้านหน้าช่วยกดด้านหน้าลดลงเล็กน้อย เวลาที่ต้องการฟีลลิ่งจากด้านหน้าที่ชัดเจนมากขึ้นและตอนจะเข้าโค้ง การที่มีสปูนมาช่วยสร้างแรงกด มันจะมีประโยชน์มากๆ เวลาเบรกหนักๆ เพราะมันช่วยให้ยางหลังติดอยู่กับพื้น และนั่นช่วยให้นักแข่งใช้เบรกหลังได้!

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

ติดตามเราบนแฟนเพจคลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก 

- Advertisement -
Benz SuperBike
Benz SuperBikehttps://www.superbikemag.com/
ธรรมรัตน์ แซ่ลี้ นักเขียน นักแปล ที่จับพลัดจับผลูได้กลายมาเป็นนักเขียนให้กับทาง SuperBike Thailand มาตั้งแต่ปีแรก ๆ ที่ยังเป็นนิตยสาร จนกระทั่งกลายเป็นสื่อออนไลน์เต็มรูปแบบ

Related Articles